1. ด้านการป้องกันการบุกรุก ทำลายทรัพยาการป่าไม้ อย่างบูรณาการ
| ระงับ ยับยั้งการบุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ การครอบครองพื้นที่ป่าโดยผิดกฎหมาย การทวงคืนพื้นที่ป่าให้กลับมาเป็นพื้นที่ของรัฐ และเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อความอุดมสมบูณ์ตามธรรมชาติ
|
2. ด้านอนุรักษ์และฟื้นฟู พื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้มีสภาพป่าสมบูรณ์ | อนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงรักษาระบบนิเวศป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ให้กลับคืนสภาพทางธรรมชาติ โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริใช้ศาสตร์การฟื้นฟูตามหลักธรรมชาติฟื้นธรรมชาติ และการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟู ด้วยกระบวนการทางวนวัฒนวิธีที่เหมาะสมกับระบบนิเวศ และการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและราษฎรในพื้นที่สูงในการมีส่วนร่วมในการดูแลระบบนิเวศ โดยฐานชุมชนสร้างความตระหนักต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ
|
3. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ การเฝ้าระวังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อลดภัยคุกคามต่อระบบนิเวศป่าไม้และสัตว์ป่า | การวางระบบ กลไก กระบวนการ วิธีปฏิบัติในการลดภัยคุกคาม และการเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษาระบบนิเวศป่าและพื้นที่อนุรักษ์ทุกประเภท รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และระบบนิเวศโดยรวม รวมถึงต้องใช้มาตรการทางสังคมและกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการวางแผนการปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ โดยผสมผสานมาตรการทางเศรษกิจ สังคม และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีกฎกติกาที่เห็นพ้องร่วมกัน
|
4. ด้านการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในการให้บริการด้านนิเวศอย่างสมดุล | ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่มีศักยภาพในการให้บริการ ด้านนิเวศ ทั้งในเชิงป่าไม้ สัตว์ป่า คุณค่าความงามทางทัศนียภาพพื้นที่ธรรมชาติที่โดดเด่น โดยเน้นพัฒนาศักยภาพของแหล่งธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก รูปแบบการใช้ประโยชน์ การจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย การให้บริการที่มีมาตรฐานและคุณภาพเป็นที่ยอมรับและประทับใจ รวมทั้งระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าใช้บริการ และยังรวมถึงการจัดทำแผนแม่บท (Master Plan) สำหรับการวางแผนพัฒนาพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่สงวนทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง
|
5. ด้านการศึกษา วิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ | มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ กระบวนการ เทคนิควิธี รูปแบบ การบริหาร จัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้งานวิจัย พัฒนาและต่อยอดสู่การเป็นนวัตกรรม ที่สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้มีความสมดุล เพื่อการบริการของระบบนิเวศที่ยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรและระบบนิเวศ และรวมถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบ
|
6. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารระบบจัดการภาครัฐ | วางระบบ รากฐาน การดำเนินงานของกลไก เครื่องมือ กระบวนการ และระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่มุ่งประสิทธิผลสอดคล้อง กับแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคมและประชาชน ตลอดจนลดการทุจริต และการสร้างธรรมาภิบาลการบริหารงานภาครัฐ ทั้งภาวะการนำองค์กร กระบวนการทำงาน สมรรถนะบุคลากร การจัดการความรู้ การสร้างเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหาร ที่มุ่งผลลัพธ์การทำงาน รวมทั้งการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
|