โครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติตามพระราชเสาวนีย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พระราชดำริ
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จทอดพระเนตรโครงการธนาคารอาหารชุมชน ณ สวนป่าตามโครงการพระราชดำริ ปางตอง 1 (ห้วยมะเขือส้ม) ได้มีพระราชดำริแก่อธิบดีกรมป่าไม้ ความว่า
“ …ทรงเป็นห่วงประชาชนจะไม่มีอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์บริโภคอย่างเพียงพอ เขียดแลวเป็นกบชนิดหนึ่ง ที่มีมากในท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน ทำให้เขียดแลว ในสภาพธรรมชาติลดน้อยลงเป็นที่น่าวิตกว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคต ขอให้กรมป่าไม้จัดหาพื้นที่เหมาะสมทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป ด้วยการจัดหาสถานที่เพาะเลี้ยงเขียดแลวแบบธรรมชาติ ให้กรมป่าไม้จัดหาพื้นที่อย่างน้อย 1,000 ไร่ กรมชลประทานจัดทำแหล่งน้ำสร้างความชุ่มชื้น กรมประมงจัดหาพันธุ์เขียดแลวปล่อยในพื้นที่ป่าไม้ตามธรรมชาติ โดยให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ…”
ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จทอดพระเนตรโครงการธนาคารอาหารชุมชน ณ สวนป่าตามโครงการพระราชดำริ ปางตอง 1 (ห้วยมะเขือส้ม) ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีพระราชดำริแก่อธิบดีกรมป่าไม้ ความว่า
“ …ทรงเป็นห่วงประชาชนจะไม่มีอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์บริโภคอย่างเพียงพอ เขียดแลวเป็นกบชนิดหนึ่ง ที่มีมากในท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน ทำให้เขียดแลว ในสภาพธรรมชาติลดน้อยลงเป็นที่น่าวิตกว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคต ขอให้กรมป่าไม้จัดหาพื้นที่เหมาะสม ทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป ด้วยการจัดหาสถานที่เพาะเลี้ยงเขียดแลวแบบธรรมชาติ ให้กรมป่าไม้จัดหาพื้นที่อย่างน้อย 1,000 ไร่ กรมชลประทานจัดทำแหล่งน้ำสร้างความชุ่มชื้น กรมประมงจัดหาพันธุ์เขียดแลวปล่อยในพื้นที่ป่าไม้ตามธรรมชาติ โดยให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ…” เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสเกี่ยวกับรายละเอียดของการดำเนินงานโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติกับ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ณ วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล กรมป่าไม้จึงได้จัดตั้งโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติตามพระราชเสานีย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2544
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติ
2. เพื่อเพิ่มปริมาณเขียดแลวให้มีปริมาณมากขึ้นในป่า
3. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ธรรมชาติของเขียดแลวและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
4. เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้จากการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลว
5. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของประชาชนในท้องถิ่นให้มีความสามารถที่จะบริหารและจัดการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติต่อไป
ที่ตั้ง เนื้อที่ และอาณาเขต
โครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติตามพระราชเสาวนีย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ พิกัด 384100 E 2156300 N แผนที่ภูมิประเทศ กรมแผนที่ทหาร L 7018 ระวาง 4745 I 4848 II บ้านรวมไทย หมู่ที่ 5 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,200 เมตร อยู่ติดชายแดนประเทศสหภาพพม่า และอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งขวาตอนล่าง ปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ถ้ำปลา – น้ำตกผาเสื่อ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2552 มีเนื้อที่ประมาณ 500ไร่ โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ พื้นที่โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่างเก็บน้ำปางตอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกัน ประเทศสหภาพพม่า
ทิศใต้ ติดต่อกับ พื้นที่โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
นายเกียรติศักดิ์ วังวล
หัวหน้าโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติตามพระราชเสาวนีย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน