ความเป็นมา
ตั้งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำปาย ท้องที่ตำบลห้วยผา ตำบลปางหมู ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง ตำบลปางมะผ้า ตำบลถ้ำลอด ตำบลนาปู่ป้อม ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า และตำบลแม่นาเติง ตำบลทุ่งยาว ตำบลเวียงใต้ ตำบลเมืองแปง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 738,085 ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงที่มีลักษณะภูเขาเด่นชัดอยู่ 3 ลักษณะ คือ ภูเขาหินอัคนีเป็นเทือกเขายาวแนวเหนือใต้ บริเวณตะวันออกของเขตพื้นที่ภูเขาหินปูน บริเวณตอนกลางค่อนไปทางด้านเหนือของพื้นที่จนจดเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน และภูเขาหินทรายบริเวณด้านตะวันตกและด้านใต้ของเขต ลักษณะภูมิอากาศมีความคล้ายคลึงกับสภาพอากาศส่วนใหญ่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ทรัพยากรป่าไม้ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ทรัพยากรสัตว์ป่าที่สำรวจพบมีทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และปลา มีชุมชนในเขตพื้นที่ จำนวน 21 หมู่บ้าน นอกเขตพื้นที่ 19 หมู่บ้าน และชุมชนตามแนวเขตในและนอกเขตพื้นที่ (ก้ำกึ่ง) จำนวน 7 หมู่บ้าน มีหน่วยพิทักษ์ป่าถาวร จำนวน 11 หน่วย คือ หน่วยพิทักษ์ป่าแม่นะ หน่วยพิทักษ์ป่าแม่นาเติง หน่วยพิทักษ์ป่าแพมบก หน่วยพิทักษ์ป่าสบสา หน่วยพิทักษ์ป่าปางมะผ้า หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำริน – แม่อูมอง หน่วยพิทักษ์ป่ากึ๊ดสามสิบ หน่วยพิทักษ์ป่าแม่สุยะ หน่วยพิทักษ์ป่าปางหมู หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกซู่ซ่า และหน่วยพิทักษ์ป่าหนองขาว มีหน่วยพิทักษ์ป่าชั่วคราว จำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยพิทักษ์ป่าชั่วคราวไม้ฮูง หน่วยพิทักษ์ป่าชั่วคราวป่ายาง และหน่วยพิทักษ์ป่าชั่วคราวผาสำราญ มีจุดสกัด จำนวน 5 แห่ง คือ จุดสกัดสหัสบุญญาวิวัฒน์ 1 (ห้วยซลอบ) จุดสกัดไม้และของป่าไทรงาม จุดสกัดดอยเขียว จุดสกัดสบของ – ปาย และจุดสกัดโป่งนก มีจุดตรวจสกัด จำนวน 3 แห่ง คือ จุดตรวจสกัดไม้ ของป่า และสัตว์ป่าบ้านรุ่งอรุณ จุดตรวจสกัดปางช้างและผามอน และจุดตรวจสกัดน้ำบ่อสะเป่ มีศูนย์บริการข้อมูล จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์บริการข้อมูลลำน้ำของ
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จรด
ทิศใต้ จรด
ทิศตะวันออก จรด
ทิศตะวันตก จรด
นายนิกร แก้วโมรา
หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย